ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์นั้นมีหลากหลายภาษาในปัจจุบัน เบื้องต้นก่อนที่เราจะแนะนำภาษาต่างๆ ที่ใช้สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ เราจะมาแนะนำกันในเรื่องของเทคนิคในการเลือกภาษาที่จะใช้ในการพัฒนาเสียก่อน
สำหรับมือใหม่ในการพัฒนานั้นอาจจะแนะนำเป็นภาษาที่ถูกนิยมใช้พัฒนากันอย่างกว้างขวางเป็นหลัก เพราะทางผู้พัฒนามือใหม่จะสามารถหาคำแนะนำหรือสังคมที่รวมตัวผู้พัฒนาของภาษาเหล่านั้นได้โดยง่าย และง่ายต่อการการปูพื้นฐานพัฒนาทักษะ
นอกจากนี้ภาษาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จะมี Framework หรือชุดคำสั่ง เครื่องมือโครงสร้างสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ที่จะช่วยร่นระยะเวลาและเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
เรามาเริ่มด้วยภาษาโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่สามารถขาดไปเลย นั่นก็คือ
ภาษา HTML หรือย่อมาจาก Hypertext Markup Language เป็นภาษาพื้นฐานที่ใช้ในการสร้างโครงสร้าง
และเนื้อหาของเว็บเพจ ใช้ชุดคำสั่งหรือที่เรียกว่าแท็กเพื่อกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ของหน้าเว็บ เช่น ส่วนหัว ย่อหน้า รูปภาพ ลิงก์ ตาราง แบบฟอร์ม และทำการเชื่อมต่อกันไปยังหน้าอื่น หรือเว็บไซต์อื่นๆ
ภาษา HTML ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะตั้งแต่ ปี 1993 โดย Tim และ Dan Conolly จนถึงปัจจุบัน ภาษา HTML เข้าสู่เวอร์ชัน 5 ที่ถูกพัฒนาจนสามารถรองรับการแสดงผลบนเกือบทุกอุปกรณ์ทั่วไป จากเดิมที่รองรับเฉพาะบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
HTML นั้นมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการศึกษาและเข้าใจได้ง่าย เขียนได้บนซอฟต์แวร์ไหนก็ได้ไม่ได้เจาะจงเป็นพิเศษ เบราเซอร์สมัยใหม่รองรับและยืดหยุ่นต่ออุปกรณ์หลากหลายหรือแบบ
ภาษาที่ตีคู่มากับ HTML คือ CSS ที่นักพัฒนาเว็บไซต์ต้องผ่านภาษานี้กันอย่างแน่นอน
ภาษา CSS หรือย่อมาจาก Cascading Style Sheets ใช้ในการควบคุมการนำเสนอและเค้าโครงขององค์ประกอบ HTML บนหน้าเว็บไซต์ ช่วยให้นักพัฒนาสามารถกำหนดสี แบบอักษร การเว้นวรรค และการวางตำแหน่ง ทำให้เว็บไซต์ดูน่าดึงดูดใจมากยิ่งขึ้น
CSS เริ่มพัฒนาในปี ค.ศ.1994 มาจากเสียงบ่นของนักพัฒนา โดยพวกเขาไม่มีวิธีที่จะกำหนดหน้าตาเว็บเพจที่เพียงพอ จะเปลี่ยนแบบตัวอักษรและสีขององค์ประกอบได้อย่างไร? ซึ่ง HTML ในยุคแรกนั้นไม่มีความสามารถในการทำเรื่องแบบนี้ได้ จนมาถึงในปัจจุบันที่ CSS ถูกพัฒนาถึงเวอร์ชัน 3 โดยกระบวนการต่างๆ ในการเสริมเติมแต่งหน้าเว็ปไซต์นั้น มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สรุปได้ว่า CSS เป็นหนึ่งในภาษาที่ขาดไปไม่ได้ ช่วยให้เนื้อหาภายในเนื้อหา HTML มีความเข้าใจได้ง่ายขึ้นและแก้ไขได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย ทำให้ดูเป็นมาตรฐานมากขึ้นและมีความทันสมัย และยังสามารถทำให้ช่วยในการกำหนดการแสดงผลในรูปแบบที่มีความเหมาะกับสื่อต่างๆ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
นอกจากนี้ยังมีภาษา JavaScript (JS) ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในการทำ Frontend Web Application ถือเป็นภาษาที่มีความเป็นเอนกประสงค์และยืดหยุ่นสูง เหมาะสำหรับการสร้างเว็บไซต์ที่ต้องมีการโต้ตอบกับผู้ใช้เป็นอย่างมาก
JavaScript จะต้องใช้ NodeJS ในการพัฒนา โดยภาษานี้จะมีความพิเศษคือ สามารถพัฒนา Frontend (หน้าบ้าน) และ Backend (หลังบ้าน) ได้ในภาษาเดียว เรียกได้ว่าเรียนรู้ครั้งเดียว แต่สามารถทำงานได้หลากหลายและค่อนข้างครอบคลุมระบบเกือบทั้งหมด
ข้อดีของภาษานี้ คือมีสังคมนักพัฒนาเป็นจำนวนมาก ยิดหยุ่น สามารถเอาไปใช้งานกับ Application ได้หลายรูปแบบ เรียนรู้ได้ค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นๆ
อันที่จริงแล้ว ภาษาในการพัฒนาเว็บไซต์มีอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งจะเหมาะกับการทำงานในจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง React, Node.js, Bootstrap ที่เหมาะกับการพัฒนาในทางด้าน Frontend และ Python, Java, C#, PHP, Ruby ที่จะเหมาะในการพัฒนาด้าน Backend ซึ่งเราจะมาลงลึกในรายละเอียดในแต่ละภาษาในลำดับถัดไป
ทั้งนี้อย่าลืมว่า ในการเริ่มต้นการพัฒนานั้นสำหรับมือใหม่นั้น นอกจากการเลือกภาษาที่มีผู้สนับสนุนและมีความนิยมสูง อย่าลืมที่จะเลือกภาษาที่เหมาะสมกับตัวงาน ที่ทำให้การพัฒนาไม่ติดขัดกับตัวงานอีกด้วย